คำขวัญ
ถิ่นมะปรางหวาน ฐานธรรมะ ถ้ำพระนเรศวร ล้วนพืชพรรณ ตระการภูผา
ข้อมูลทั่วไป
อักษรไทย อำเภอเนินมะปราง
อักษรโรมัน Amphoe Noen Maprang
จังหวัด พิษณุโลก
รหัสทางภูมิศาสตร์ 6509
รหัสไปรษณีย์ 65190
ข้อมูลสถิติ
พื้นที่ 1,029.550 ตร.กม.
ประชากร 58,208 คน (พ.ศ. 2557)
ความหนาแน่น 56.53 คน/ตร.กม.
ที่ว่าการอำเภอ
ที่ตั้ง ที่ว่าการอำเภอเนินมะปราง หมู่ที่ 2 ตำบลเนินมะปราง อำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก 65190
พิกัด 16°34′6″N 100°38′8″E
หมายเลขโทรศัพท์ 0 5539 9065
หมายเลขโทรสาร 0 5539 9065
ที่ตั้งและอาณาเขต
อำเภอเนินมะปรางอยู่ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 68 กิโลเมตร ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง ดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอวังทอง
ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอเขาค้อ อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ และอำเภอวังโป่ง (จังหวัดเพชรบูรณ์)
ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอเขาค้อ อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ และอำเภอวังโป่ง (จังหวัดเพชรบูรณ์)
ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอวังโป่ง (จังหวัดเพชรบูรณ์) อำเภอทับคล้อ และอำเภอวังทรายพูน (จังหวัดพิจิตร)
ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอวังทรายพูน อำเภอสากเหล็ก (จังหวัดพิจิตร) และอำเภอวังทอง
ประวัติ
พื้นที่อำเภอเนินมะปรางเดิมเป็นป่าดงดิบที่เต็มไปด้วยต้นไม้และสัตว์ป่า ห่างไกลจากผู้คน แต่จะมีเพียงผู้มีอาชีพพรานที่เข้ามาล่าสัตว์และหาของป่า มาสร้างกกปางและอาศัยพักแรมชั่วคราวเท่านั้น ต่อมามีกลุ่มคนจากนครไทย ด่านซ้าย และหล่มสัก อพยพย้ายถิ่นฐานเดิมเข้ามาตั้งรกรากบริเวณบ้านชมพู บ้านมุง วังโพรง ไทรย้อย จากนั้นก็ขยับขยายที่ทำกินไปที่วังยาง บ้านน้อยซุ้มขี้เหล็ก และเนินมะปราง ในที่สุด โดยตัวอำเภอเนินมะปรางเดิมเป็นหมู่บ้านเก่าแก่ตั้งมาประมาณ 42 ปี ชื่อบ้านเนินมะปราง ขึ้นกับตำบลบ้านมุง อำเภอวังทอง ลักษณะภูมิประเทศประมาณร้อยละ 45 เป็นภูเขาหินปูนอายุกว่า 300 ล้านปี มีถ้ำอยู่มากมาย
จึงเป็นแหล่งซ่องสุมกำลังของผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ มีการปลุกระดมมวลชน แทรกซึม บ่อนทำลายความมั่นคง และซุ่มโจมตีเจ้าหน้าที่รวมทั้งสถานที่ราชการอยู่เนือง ๆ ทางราชการจึงได้แยกพื้นที่บางส่วนของอำเภอวังทองตั้งเป็น กิ่งอำเภอเนินมะปราง ขึ้นเมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2519 มีปลัดอำเภอหัวหน้ากิ่งอำเภอคนแรกชื่อ นายประยูร อินทรทัศน์ และได้รับการยกฐานะเป็น อำเภอเนินมะปราง เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2526 มีร้อยตรี สมชาย นวาวัฒน์ ดำรงตำแหน่งนายอำเภอคนแรก จัดเป็นอำเภอชั้น 3 และนับเป็นอำเภอที่ 9 ของจังหวัดพิษณุโลก ปัจจุบันมีถ้ำมากมายให้ทุกท่านได้รับชม เช่น ซากดึกดำบรรพ์ อักษรญี่ปุ่นโบราณ ฯลฯ
อำเภอเนินมะปรางแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 7 ตำบล 77 หมู่บ้าน
การปกครองส่วนท้องถิ่น
ท้องที่อำเภอเนินมะปรางประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 8 แห่ง ได้แก่
เทศบาลตำบลเนินมะปราง ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลเนินมะปราง
เทศบาลตำบลไทรย้อย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลไทรย้อยทั้งตำบล
เทศบาลตำบลบ้านมุง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านมุงทั้งตำบล
องค์การบริหารส่วนตำบลชมพู ครอบคลุมพื้นที่ตำบลชมพูทั้งตำบล
องค์การบริหารส่วนตำบลวังโพรง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวังโพรงทั้งตำบล
องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านน้อยซุ้มขี้เหล็ก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านน้อยซุ้มขี้เหล็กทั้งตำบล
องค์การบริหารส่วนตำบลเนินมะปราง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเนินมะปราง (นอกเขตเทศบาลตำบลเนินมะปราง)
องค์การบริหารส่วนตำบลวังยาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวังยางทั้งตำบล
แหล่งท่องเที่ยว
ครอบคลุมเนื้อที่ 1,775 ไร่ในท้องที่อำเภอเนินมะปราง ห่างจากตัวเมืองพิษณุโลก 85 กิโลเมตร การเดินทางเริ่มจากตัวเมืองพิษณุโลกไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 ถึงอำเภอวังทอง ระยะทาง 20 กิโลเมตร แยกขวาไปยังอำเภอสากเหล็กอีก 38 กิโลเมตร ตามเส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 แล้วแยกซ้ายเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1115 อีก 17 กิโลเมตร ถึงโรงเรียนเนินมะปรางศึกษาวิทยา (ก่อนถึงตัวอำเภอ 2 กิโลเมตร) มีแยกขวาไปถ้ำผาท่าพลอีก 10 กิโลเมตร เส้นทางบางช่วงเป็นทางลูกรัง ในฤดูฝนควรใช้รถขับเคลื่อนสี่ล้อ
พื้นที่บริเวณนี้เป็นภูเขาหินปูน ยอดสูงสุด 236 เมตร มีหน้าผาสูงชันเว้าแหว่งอันเกิดจากการกัดเซาะของน้ำฝนนับหลายล้านปี เกิดเป็นถ้ำต่าง ๆ มากมายทั่วบริเวณ ได้แก่ ถ้ำนเรศวร ถ้ำเรือ ที่มีหินงอกหินย้อยสวยงาม ถ้ำลอด ซึ่งสามารถเดินทะลุไปยังอีกด้านหนึ่งของภูเขาได้ นอกจากนี้ยังพบซากดึกดำบรรพ์ของหอยและปะการัง เนื่องจากบริเวณนี้เคยเป็นท้องทะเลมาก่อน และยังมีภาพเขียนสีก่อนประวัติศาสตร์รูปมือคนบนเพิงผาหิน
และอักษรญี่ปุ่นโบราณสลักบนก้อนหิน พรรณไม้และร่องรอยสัตว์ป่าต่าง ๆ ที่มักพบระหว่างทางเดินเท้าศึกษาธรรมชาติ เหมาะแก่การทัศนศึกษาเชิงนิเวศ นักท่องเที่ยวสามารถติดต่อขอข้อมูลได้เจ้าหน้าที่เมื่อเดินทางมาถึงยังสำนักงานเขต การเที่ยวชมถ้ำต่าง ๆ ต้องนำไฟฉายติดตัวมาด้วย ในช่วงฤดูฝนถ้ำบางแห่งไม่สามารถเข้าชมได้เนื่องจากมีน้ำท่วมพื้นถ้ำ หากต้องการพักค้างแรมหรือทัศนศึกษาเป็นหมู่คณะ ติดต่อล่วงหน้าได้ที่สำนักงานเขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำผาท่าพล หมู่ 6 ตำบลบ้านมุง
ถ้ำพระวังแดง
เป็นถ้ำที่ยาวและใหญ่เชื่อมต่อกันหลายถ้ำ มีความยาวประมาณ 12.5 กิโลเมตร ถือว่าเป็นถ้ำที่ยาวมาก ภายในถ้ำมีห้องโถงขนาดใหญ่มีหินงอกหินย้อยสวยงามและมีลำห้วยอยู่ด้านล่าง ในลำห้วยมีสิ่งที่น่าสนใจเป็นปลาพันธุ์ใหม่หายาก คือ ปลาค้อถ้ำพระวังแดงหรือปลาไม่มีตา เนื่องจากอาศัยอยู่ในถ้ำเป็นเวลานานจนมีการปรับสภาพให้เหมาะแก่การดำรงชีวิตภายในถ้ำซึ่งไม่มีแสงเพียงพอ ลักษณะลำตัวยาว 15 เซนติเมตร หลังค่อม ริมฝีปากหนา ไม่มีตา แต่เห็นเป็นรอยเล็ก ๆ และมีติ่งหนังด้านหน้า ลำตัวสีชมพูอมเหลือง ปลาอีกพันธุ์หนึ่งที่พบในถ้ำนี้คือ ปลาถ้ำพลวงหรือปลาตาบอดมีลักษณะแตกต่างจากปลาพลวงชนิดอื่น ๆ คือ มีตาเล็กและมีหนังบาง ๆ หุ้มโดยรอบดวงตา ริมฝีปากหนา มีหนวด 2 คู่ หลังโค้งมนมีเกล็ดบางบำตัวสีชมพูจางปนกับสีเทาอ่อน ๆ ยาวประมาณ 40 เซนติเมตร
การเข้าไปเที่ยวชมภายในถ้ำควรติดต่อเจ้าหน้าที่นำทางที่อุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง (หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวงที่ 5) เพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายหรือการพลัดหลง
สถานศึกษารัฐบาล
สถานศึกษาเอกชน
โรงเรียนเอ.เจ.เนินมะปราง (อาภัสราเจนสคูล)
ขอขอบคุณข้อมูลจาก https://th.wikipedia.org
0 ความคิดเห็น